วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ซ่อมปลั๊กพ่วง

ปลั๊กไฟที่เป็นปลั๊กพ่วงราคา 100 - 300 บาทเมื่อชำรุด หลายคนนำไปทิ้ง ซื้อใหม่ดีกว่า แต่ในฐานะบล็อกเกอร์ DIY จึงนำวิกฤติเป็นโอกาสทันที ในวันนี้ขอนำเสนอการซ่อมปลั๊กพ่วง 2 ราง รางแรกชำรุดเนื่องจากหนูมากัดสายไฟขาด รางที่สองสวิทช์เสีย มาดูหลักฐานกันเลย



ขั้นตอนการซ่อม

1. ซื้อสายไฟอ่อน (VFF) ขนาด 2*1.0 sq.mm. และปลั๊กตัวผู้
2. ปอกสายไฟปลายด้านหนึ่งให้ฉนวนออกมาพอประมาณ นำสายไฟสอดในช่องฉนวนพันสายดังภาพ



2. เปิดฝาหลังด้วยไขควงปากแฉกขันสกรูทุกตัวออก
3. ถอดสายไฟเดิมออกโดยการบัดกรีเอาความร้อนไปแตะแล้วดึงออกมา ดังภาพ




4. ปลายสายอีกด้านปอกฉนวนออกมา บัดกรีด้วยการนำหัวแร้งไปแตะที่ปลายสายทองแดงแตะตะกั่วให้หลอมติดเป็นเนื้อเดียวกันทั้งสองเส้น
5. นำปลายสายทั้งสองไปบัดกรีกับแผงปลั๊กพ่วงตำแหน่งเดียวกับตอนถอดของเก่าออก ปิดฝาขันสกรูกลับเหมือนเดิม ผลลัพธ์ที่ได้ตัวที่หนึ่ง



ปลั๊กตัวที่ 2 สวิทช์เสีย แต่จะไม่เปลี่ยนสวิทช์ แต่ใช้วิธีบายพาสคือต่อตรงไปเลย ยกเลิกการใช้สวิทช์ เพราะสวิทช์ขนาดเล็กแบบนี้จะทนกระแสได้น้อย แม้ว่าในสเป็คจะเขียนว่า 5-15 แอมป์ แต่ผมไม่เชื่อว่าจะทนได้ถึง 15 แอมป์

ขั้นตอนการซ่อม มีดังนี้




1. ถอดฝาหลังออกมาเหมือนตัวแรก
2. บัดกรีย้ายปลายสายสีเหลืองที่ขั้วสวิทช์จากขั้วกลางไปยังขั้วบน (ย้ายจากลูกศรเล็กไปยังขั้วบน ลูกศรใหญ่)



3. บัดกรีให้ครบทั้ง 4 สวิทช์เหมือนกับข้อ 2
4. ปิดฝา ขันสกรู แล้วทดสอบการใช้งาน

เป็นอันเสร็จสิ้นการ DIY ในครั้งนี้

ขอแสดงความคิดเห็นในคุณภาพผลิตภัณฑ์ปลั๊กไฟที่ผลิตในประเทศไทยหน่อย

จากประสบการณ์ และภาพที่เห็นจะเห็นว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยคนไทยห่วย ๆ เหลือเกิน ให้สังเกตโลหะที่เป็นทองแดง เมื่อเปรียบเทียบกับของญี่ปุ่นจะเห็นชัดเจนว่า

ของไทย เมื่อเราเสียบปลั๊กตัวผู้ไปครั้งแรกบางครั้งหลวม บางทีแน่น แต่ครั้งต่อไปหลวมตลอด ทั้งนี้เพราะทองแดงหรือโลหะที่ใช้ไม่มีการวิจัยหาคุณสมบัติการเป็นสปริงเหมือนของญี่ปุ่น

ของไทยเป็นโลหะทองแดงล้วน ๆ ไม่ผสมโลหะใด ๆ ให้มีคุณสมบัติของความเป็นสปริงเลย

ผู้ซื้อไม่สามารถเปิดดูโลหะข้างในได้เลย แม้ว่าจะมีราคาแพงแล้วก็ตาม

ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการคุณภาพสูง ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้ากระแสสูง เช่น เตารีด หม้อหุงเข้า จึงสมควรซื้อยี่ห้อ Panasonic, Clipsal มาประกอบเองดีกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

comment from facebook