วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

DIY ตอน 10 ทำกล่องเครื่องเสียง Integrated Amplifier


เครื่องเสียงยี่ห้อ Sansui รุ่น AU-101 ดังภาพด้านล่างนี้ ผมได้มาจากพี่สาวและพี่เขย สภาพตามที่เห็น เมื่อถามพี่เขยว่าทำไมไม่มีฝาปิด เขาบอกว่าถอดมาจากเฟอร์นิเจอร์ที่สั่งทำ Built-in แล้วใส่เครื่องเสียงเข้าไป เมื่อถอดออกมาจากเดิม ทำให้ไม่มีฝาปิด



เมื่อมาค้นหารูปภาพจากเว็บ google จึงเห็นว่ามีสภาพเดิมสวยงามคลาสสิค กล่องขอบข้างทำจากไม้ เมื่อศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บ จึงทราบว่า เป็นรุ่นที่ผลิตในปี 1973 - 1975 ถ้านับถึงปี 2011 จะมีอายุได้ 38 ปีแล้ว ไม่น่าเชื่อว่ายังคงใช้งานได้จนถึงปัจจุบัน

เมื่อได้มา ผมจึงจัดการกับลูกบิด On-Off โดยเปลี่ยนใหม่เอาลูกบิดของอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์มาใส่เข้าไป ฟังเสียงครั้งแรกเสียงจะไม่ Balance กัน จัดการโดยใช้เครื่องเป่าลม เป่าขี้ฝุ่นให้ออกให้หมด แล้วใช้น้ำยา Contact Cleaner ยี่ห้อ Phillips ฉีดที่รูของ Volume และ Balance รวมทั้ง Base และ Treble อาการเสียงไม่เท่ากันหายเป็นปลิดทิ้ง ไม่น่าเชื่อว่าเสียง Base ที่ได้จะหนักแน่น เสียงแหลมจัดจ้าน นุ่มนวลพอสมควร ไม่มีเสียงกรอกแกรกมารบกวนเลย รูปเดิมของ Sansui AU-101 ที่หาได้จากเว็บ ดังภาพด้านล่างนี้




เมื่อได้เห็นสภาพเดิมของรุ่นนี้แล้ว จึงมีความคิดที่จะ DIY กล่องให้ใกล้เคียงกับสภาพเดิม จึงนำเศษไม้ มาทำเป็นกล่อง วัดขนาดให้พอใส่เครื่องแอมป์เข้าไปได้ ซื้อสติกเกอร์ลายไม้จาก Home Pro และคัตเตอร์ ดังภาพด้านล่าง



ลงมือเอากล่องไม้มาวางบนสติกเตอร์ ตัดขนาดให้พอดีกัน ลอกสติกเกอร์มาค่อยติดให้เรียบ อย่าให้เกิดฟองอากาศภายในก็พอ ติดสติกเกอร์ให้ครบทุกด้าน


ภาพที่ได้เมื่อเสร็จแล้ว จะได้ดังภาพข้างล่าง


ขอรีวิวการใช้งานเครื่องเสียงนี้สักหน่อย

แอมป์เครื่องนี้ ส่วนใหญ่จะใช้ฟังวิทยุ จากดาวเทียม โดยต่อเอา Source มาจาก Receiver
ยี่ห้อ dBy รุ่น Leo-809 ซึ่งให้ Output ออกมาไม่ได้เรื่องเลย แต่เครื่องแอมป์ตัวนี้ สามารถปรับให้ออกมาดีได้
ผมเคยนำเอา ONKYO รุ่น HT-3300 5.1 แต่มาฟังแบบลำโพงชุด B ที่ใช้เพียง 2 ลำโพง มาทดสอบเปรียบเทียบกัน
โดยนำเอา Receiver จานดาวเทียมเดียวกัน ลำโพงเดียวกัน ผลการเปรียบเทียบผมประทับใจเสียงของ Sansui 38 ปีมากกว่า

ในขณะที่ ONKYO ถ้าได้ Source เข้ามาดีจะให้คุณภาพของเสียง ได้ดี แต่ถ้า Source ไม่ดี แทบจะไม่อยากฟังซะเลยทีเดียว
ทั้งหมดนี้ เป็นความคิดเห็นของผมคนเดียว ถ้าใครจะนำไปอ้างอิง อย่าเพิ่งเชื่อนะครับ โปรดไปหาฟังด้วยตัวเองจะดีกว่า

สุดท้ายนี้ ขอให้ความสุขกับ D.I.Y นะครับ

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

DIY ตอน 9 เปลี่ยนลูกบิดประตู


ลูกบิดประตูเมื่อใช้งานไปนาน ๆ มักจะชำรุดเสียหายได้ วันนี้ได้โอกาสเปลี่ยนลูกบิดประตู ซึ่งเป็นการฝึกงานเป็นช่างไม้กันครั้งแรก การ DIY ครั้งนี้มีขั้นตอนการทำงานอย่างละเอียด พร้อมภาพแสดง ดังขั้นตอนต่อไปนี้

  1. ถอดลูกบิดอันเก่าออก โดยการถอดจากภายใน กดเอาตัวล็อกซึ่งอยู่ที่ตำแหน่ง ดังภาพ ขอใช้ภาพแทน เพราะตอนถอดไม่ได้ถ่ายภาพไว้




  2. ไปซื้อลูกบิด จะได้อุปกรณ์มาครบชุด รวมทั้ง สกรูและตัวถอดสลักตามภาพแรกด้วย เครื่องมือที่ใช้มีเพียงไขควงปากแฉกเท่านั้น จัดการแกะออกจากแพ็กเก็จหีบห่อ และถอดลูกบิดด้านในออกดังภาพแรก




  3. ติดตั้ง ขันสกรูอุปกรณ์ดังภาพ (ไม่ทราบเขาเรียกว่าอะไร) ถ้ามีของเก่าอยู่แล้วให้ถอดออกเปลี่ยนเป็นอันใหม่ไปเลย





  4. สอดลูกบิดเข้าไปจากด้านนอก ให้ด้านที่มีลูกศรชี้อยู่ทางด้านที่มีรูตัวล็อก ดังภาพ




  5. ในขณะที่สอดให้ใส่ตัวลูกเดือยยึดเข้าไปพร้อมกันเพราะว่าเขี้ยวที่ยึดจะยึดติดจากการสอดตัวแม่เท่านั้น (ตามลูกศรในภาพข้อ 4) ที่ลูกศรนั้นเป็นตัวยึดกับลูกบิด เพื่อหมุนปิด - เปิดล็อกประตู เมื่อใส่เสร็จแล้วให้ทดลองบิดหมุนดูว่าลูกเดือยยึดติดกับตัวแม่แล้วหรือยัง




  6. ขันสกรูปิดอุปกรณ์ให้แน่น ดังลูกศรในภาพ มีทั้งหมด 4 ตัว
  7. ด้วยกัน



  8. หมุนปิดฝาปิด หมุนไปตามเข็มนาฬิกาจนแน่น




  9. ใส่ลูกบิดด้านใน โดยสอดเข้าไปตามทิศทางสีน้ำเงิน ให้ตำแหน่งตัวยึดตรงกันดังลูกศรสีแดงตามภาพ




  10. ทดลองปิดเปิดดู ตอนทดลองปิดเปิด อย่าเพิ่งปิดล็อกกับประตูจริง ให้หมุนดูก่อนว่าใช้ได้หรือไม่ เพราะว่า มือใหม่ไม่ใช้ช่างจริง ๆ อาจติดอยู่ในห้องคนเดียว
ท้ายสุดนี้ ขอให้กำลังใจกับชาว D.I.Y ทุกท่านว่า ไม่มีอะไรที่เราตั้งใจจะทำแล้วทำไม่ได้ ขอให้เริ่มทำจากสิ่งที่ง่าย ๆ ก่อน ที่สำคัญคือการศึกษาค้นคว้าครับ ในอินเทอร์เน็ตมีทุกอย่าง


comment from facebook