วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

DIY ตอน 5 แก้ปัญหาเครื่องยนต์รอบต่ำเมื่อแอร์ทำงาน



รถยนต์เมื่อใช้ไปนาน ๆ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน การขับเคลื่อนมักจะสึกหรอตาม ชม. การทำงาน แต่อะไหล่บางชนิด แม้จอดรถเอาไว้เฉยๆ มันก็เสื่อม เขาเรียกว่าเสื่อมตามอายุเช่น ประเภทท่อยางต่าง ๆ เช่น ท่อลม ท่อไหลเวียนของการระบายน้ำร้อน เป็นต้น

วิธีการตรวจสอบว่าท่อยาง เสื่อมแล้วหรือไม่ ให้ใช้ทั้งสายตา และมือบีบดูว่า การยืดตัวมีมากหรือไม่ (ต้องบีบตอนเครื่องยนต์มีความเย็น) ตาดูว่ามันป่อง พองขึ้นมา ผิดปกติหรือเปล่า เพราะถ้าไม่เปลี่ยนมันเสียเกิดท่อรั่วหรือแตกระหว่างทาง แล้วไม่สังเกตความร้อนของเครื่องยนต์ อาจทำให้เครื่องยนต์พังได้

แต่สำหรับวันนี้ไม่เกี่ยวกับเครื่องยนต์ร้อน แต่เป็นเรื่องที่ต้องใช้ท่อเช่นเดียวกัน แต่เป็นท่อลม
ท่อลมเป็นท่อที่ต่อมาจากเครื่องยนต์หลังจากท่อจุดระเบิดออกมาทางท่อไอเสีย สูบใดสูบหนึ่ง ต่อผ่านไปยัง solenoid เพื่อเปิดปิดให้ไปเปิดคันเร่งน้ำมันให้เร่งเครื่องเพิ่มขึ้น เมื่อแอร์ทำงาน

ดังนั้นรถยนต์ของใครก็แล้วแต่ ถ้าหากว่า เมื่อคอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานแล้วเครื่องยนต์รอบต่ำลง จนเครื่องสะดุด ให้เปิดฝากระโปรงสังเกตท่อลมตามรูปนะครับ รถยนต์ยี่ห้ออื่น ๆ ไม่แน่ใจว่าวางอยู่ตำแหน่งใด แต่ภาพที่นำมาให้ดู เป็นยี่ห้อ Mitsubishi รุ่น E-Car จุดที่ต้องดูคือที่ปลายของทั้งสองด้านมีรอยแตกที่เกิดจากความร้อนของเครื่องยนต์หรือไม่ เพราะถ้าแตกจะทำให้ลมรั่วได้ ไม่สามารถไปขับกระเดื่องให้เครื่องยนต์เร่งเครื่องได้ ให้ดูทั้งเส้นเข้าและเส้นออกทั้งสองเส้น

การเปลี่ยนใหม่ ท่านไม่ต้องไปเข้าอู่ให้เขาเปลี่ยนให้นะครับ แนะนำให้ไปซื้อจากร้านขายอะไหล่รถยนต์ โดยเอาตัวอย่างถอดไปด้วย ราคาไม่เกิน 20 บาทเขาวัดความยาวขายเป็นฟุต หรือเมตรซื้อมาแล้วตัดแบ่ง แล้วเปลี่ยนทั้งสองเส้นพร้อมกันทีเดียวเสียเลย

ตั้งแต่ผมใช้รถมานับ 17 ปี ต้องเปลี่ยนประมาณ 3 - 4 ครั้งแล้ว แต่ครั้งล่าสุดไปทดลองใช้ท่อ PE ที่เขาใช้ทำระบบรดน้ำสปริงเคอร์ของชาวเกษตร มาใส่แทน กลับใช้ได้นานกว่า และทนความร้อนได้ดีกว่า

ทดลองทำดูนะครับ ทำด้วยตัวเองได้ ง่ายนิดเดียว เหมือนเดิมครับผม

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

DIY ตอน 4 ซ่อมเครื่องซักผ้า


เครื่องซักผ้าอัตโนมัติ ถังเดียว เปิดฝาบนที่เห็นตามภาพด้านล่างเครื่องนี้ซื้อมาประมาณ 19 ปีแล้ว เป็นของยี่ห้อ SANYO ขนาด 6.5 ก.ก. เป็นระบบอัตโนมัติที่ควบคุมการทำงานด้วยวงจรสวิทช์แบบซี่ร่องฟัน ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ขนาดเล็ก เมื่อทำงานจะมีเสียงดัง ติก ๆๆๆๆๆ ไปเรื่อย ๆ

เครื่องซักผ้าเครื่องนี้ใช้ได้ทนทานมาก มีเสียที่บุชของมอเตอร์ เพียง 1 ครั้ง โชคดีที่ถอดไปที่ร้านซ่อมมอเตอร์ เขามี Rotor แยกขาย โดยถอดโรเตอร์เก่าออก ใส่โรเตอร์ใหม่กลับเข้าไป ใช้ได้เหมือนใหม่อีกครั้ง

อาการที่บอกให้เจ้าของรู้ว่ามอเตอร์จะเสียนั้น คือ มอเตอร์จะขับโหลดไม่ไหว (ไม่ค่อยอยากหมุน หรือหมุนไม่ออก) อาการนี้บางคนอาจจะคิดว่าสายพานอาจหย่อนก็ได้

วิธีการตรวจสอบว่าสายพานหย่อนหรือไม่
ให้ตรวจสอบที่สายพาน โดยใช้มือจับสายพานบีบเข้าหากัน ต้องให้หย่อนประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ จึงจะดี ห้ามตึงเกินไป ดังรูป




วิธีการตรวจสอบว่าบุชเสีย บุชเสื่อมหรือไม่

โดยการจับที่แกนหมุนของมอเตอร์ ที่เป็นแป้นสวมสายพาน นั้นแหละ
ให้จับโยกดู ถ้าหลวมหรือคลอนแสดงว่าบุชเสื่อมแล้ว ต้องเปลี่ยนบุช ให้ถอดมอเตอร์ทั้งลูกเอาไปให้ร้านซ่อมมอเตอร์ เปลี่ยนบุชให้ใหม่ ปกติบุชที่เปลี่ยนใหม่คุณภาพจะไม่ดี แนะนำให้ถามว่ามีขายชุดโรเตอร์หรือไม่ เพราะชุดโรเตอร์จะประกอบด้วยบุชและโรเตอร์อยู่ในตัวเดียวกัน
ราคาไม่แพงครับ คุณภาพดี



ในกรณีที่สายพานหย่อนเกินไป
เราสามารถปรับให้ตึงได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องเรียกหาช่าง วิธีการโดยการวางเครื่องให้นอนตะแคง
นำประแจเลื่อน หรือไขควงแฉกขนาดใหญ่ก็ได้ หมุนที่ยึดมอเตอร์ออกเพียงหลวม ๆ ทั้ง 2 ด้าน
ถ้าปรับตึงเกินไปจะทำให้บุชสึกหรอเร็ว มอเตอร์จะร้อน ถ้าหย่อนมากเกินไปสายพานจากมอเตอร์จะหมุนถังซักไปได้ เช่นเดียวกับการปฏิบัติตนของคน ไม่ตึงเกินไป หรือหย่อนยานวินัยเกินไป ฉันใดก็ฉันนั้น

DIY ในตอนนี้คงมีประโยชน์ สำหรับพ่อบ้านที่ไม่ได้เป็นช่างโดยตรง แต่อยากจะทำอะไรด้วยตนเอง ขอเป็นกำลังใจให้ครับ

ข้อควรระวัง
  • ก่อนจะซ่อมหรือตรวจสอบท่านต้องถอดปลั๊กไฟฟ้าออกก่อนเสมอ
  • ตรวจสอบว่าสายไฟโดนหนูกัดสายหรือแทะสายหรือไม่ ถ้าโดนให้ซื้อเทปพันสายไฟมาพันเสียก่อน
สำหรับผู้ที่พำนักอยู่ที่อเมริกา ขอแนะนำเครื่องซักผ้ายี่ห้ออิเลคโทรลักซ์ ฝาหน้า ที่ทนทานกว่า SANYO คลิกรายละเอียดด้านล่างนี้ครับ ฟรีค่าส่ง





comment from facebook